The ¬Haswell: ทำความรู้จักกับ Haswell แบบง่ายๆ
   0 ความคิดเห็น 10,395 เข้าชม + Share to my




                ถือว่าเป็นตระกูลของโปรเซสเซอร์ที่ได้รับความนิยมไม่น้อย สำหรับ Intel Core-I โดยเฉพาะบนคอมพิวเตอร์พกพาทั้งโน้ตบุ๊คและอัลตร้าบุ๊คไปจนถึงบรรดา Convertible ทั้งหลาย และแน่นอนว่าเมื่อมาถึงกลางปี 2013 นี้ทาง Intel ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวรุ่นใหม่ของโปรเซสเซอร์ยอดฮิตโดยใช้ชื่อว่า “Haswell” และวันนี้เราจะพาเจ้า Haswell นี้มาให้คุณได้ทำความรู้จักกัน

 



 

What’s is Haswell

                แนะนำกันง่ายๆ คือเจ้า Haswell นั้นถือเป็นโปรเซสเซอร์ Core-I รุ่นที่สี่ หลังจากที่รุ่นที่สามนั้นชื่อว่า Ivy Bridge ดังนั้นหากไม่รู้จักจริงๆ คุณก็สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆ ว่ามันคือ Intel Core-I ที่ออกมาในปี 2013 นี้กับโค้ดเนมว่า “Haswell” เท่านั้นเอง โดยเมื่อคุณจะซื้อโน้ตบุ๊คแล้วอยากรู้ว่าตัวไหนคือ Haswell ก็ดูง่ายๆ จากเลขตัวแรกว่าเป็นเลข “4” เช่น Intel Corei7-4770K ตัวเลขแรกหลัง “Core i7” คือ เลข 4 ดังนั้นโปรเซสเซอร์รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 4 ซึ่งก็คือ Haswell นั่นเอง (เช่นเดียวกันว่าหากมันเป็นเลข “3” ก็คือ Ivy Bridge) และเมื่อทราบวิธีดูง่ายๆ ไปแล้ว ก็ลองมาดูกันว่าเจ้า Haswell นี้มีอะไรใหม่ให้เราบ้าง

 


 

What’s New in Haswell

                สำหรับหัวข้อนี้นั้นพูดกันแบบคนทั่วไปที่อาจจะไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้มากนักก็ต้องบอกว่า สิ่งที่ Haswell มีมาให้เรานั้น ก็อาจจะไม่ได้หวือหวาอะไรมากนัก นอกจากเรื่องของการทำงานและพลังงานนั่นเอง โดยเจ้าโปรเซสเซอร์ใหม่นี้นั้น จะสามารถทำงานได้รวดเร็วกว่าเดิม (เมื่อเทียบกับความเร็ว Clock Speed ในรุ่นที่ตรงกัน) มีการแสดงผลด้านกราฟิกที่ดีขึ้น (พึ่งพากราฟิกการ์ดน้อยลง) ที่สำคัญคือมันถูกออกแบบมาให้ใช้พลังงานน้อยลงกว่า Ivy Bridge เกือบครึ่ง นั่นทำให้อุปกรณ์ที่ประมวลผลด้วย Haswell นั้นสามารถใช้งานได้นานกว่าเดิมมากหากใช้แบตเตอรี่ขนาดเท่ากัน ซึ่งต้องบอกไว้ก่อนว่า Features ใหม่ๆ บน Haswell นั้นจริงๆ แล้วมีมากมายหลายอย่าง แต่เป็นในเชิงลึกเสียส่วนใหญ่ สำหรับ User ทั่วไปอย่างเราๆ แล้วลองมาดูสรุปฟีเจอร์ที่ Intel นำเสนอว่ามีบน Haswell (ใหม่บ้างเก่าบ้าง)ตามด้านล่างนี้ดีกว่า


 
 

Iris Graphic Card

กราฟิกการ์ดใหม่ที่ช่วยเพิ่มความเร็วในการแสดงผลกราฟิกต่างๆ

Quick Sync Video

เพิ่มความเร็วการแปลงไฟล์จากกล้องวิดีโอด้วยฮาร์ดแวร์ (จากเดิมที่แปลงด้วยซอฟแวร์)

Hyper-Threading Tech

เพิ่มความสามารถของ Hyper-Threading ซึ่งทำให้แกน (Core) แต่ละอันนั้นจัดการกับข้อมูลและการประมวลผลได้ดีขึ้น ทำให้คุณใช้งานหลายๆ โปรแกรมได้อย่างลื่นไหล ไม่แฮงก์

Anti-Theft Tech

ระบบความปลอดภัยที่เมื่อเครื่องหาย หรือหากไม่มีการ Check in ตามเวลาที่กำหนดไว้ ตัวโน้ตบุ๊คจะล็อคตัวเองอัตโนมัติ และสามารถสั่งการลบข้อมูล รวมไปถึงกู้ข้อมูลกลับเอได้เครื่องคืนอีกด้วย

Intel Identity Protection (IPT)

เพิ่มความปลอดถัยบนโลกอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะการล็อกอินเว็บไซต์สำคัญ หรือการทำธุรกรรมต่างๆ โดยแม้ฉอกเกอร์จะได้ชื่อและรหัสผ่านไป ก็ไม่สามารถล็อกอินในเว็บไซต์ที่สำคัญได้ หากไม่ได้ล็อกอินจากโน้ตบุ๊คของคุณที่ใช้ Haswell เป็นการเพิ่ม Layer ความปลอดภัยขึ้นอีกขั้น

 

 

 

 

 

 


Did you know?

Tick – Tock คืออะไร

                หากใครติดตามข่าวมาบ้างน่าจะเคยเห็นคำว่า Tick Tock Model ของ Intel ซึ่งถูกใช้มานานหลายปี แต่หากสงสัยว่าเจ้าโมเดลติ๊กต่อกนี้คืออะไรเราจะอธิบายให้ฟัง โดยโมเดลที่ว่านี้มาจากแนวคิดของ Gordon Moore หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Intel โดยกฏนี้มีชื่อว่า Moore’s Law ซึ่งอธิบายถึงปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรที่เพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัวทุกๆ สองปี ซึ่งสองปีที่ว่านั้นก็จะแบ่งเป็นสองส่วนคือ Tick และ Tock ตามชื่อของมันสลับกันนั่นเอง โดยในส่วนปีที่เรียกว่า Tick นั้นจะเป็นการพัฒนาแผงวงจรโดยรวมที่ทำให้มีความสามารถมากขึ้น ประหยัดพลังงานกว่าเดิม ขณะที่ปีที่ตกลงในส่วนของ Tock นั้นจเป็นการพัฒนาแผงวงจร (ทรานซิสเตอร์) ให้เล็กลง เช่นในปี 2012 (ปีที่แล้วตกลงในช่วง Tock) นั้นโปรเซสเซอร์ในตระกูล Ivy Bridge ก็ได้ถูกลงขนาดของวงจรลงอยู่ในระดับ 22 นาโนมตร ซึ่งลดจาก 32 นาโนเมตรในปีก่อน) ดังนั้นปี 2013 นี้จะตกลงในช่วง Tick ซึ่งเป็นการพัฒนาสมรรถนะโดยรวมของแผงประมวลผลนั่นเอง ดังนั้นสรุปง่ายๆ ตามสมการด้านล่างว่า

Tick (Haswell) = New Manufacturing การพัฒนาแผงวงจรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Tock (Ivy Bridge) = New Microarchitecture การลดขนาดของทรานซิสเตอร์ในวงจรลง (สถาปัตยกรรมที่เล็กลง)

 




โปรเซสเซอร์ Haswell มีแบบไหนบ้าง?

                หากใครสังเกตุเรื่องราวของโปรเซสเซอร์กันอีกนิด นอกจากรุ่นอย่าง Core i3, i5, i7 แล้ว เราจะได้เห็นรหัสตัวเลข 4 ตัวของมัน (เช่น Intel Core i5-  4250 “U”) ซึ่งอย่างที่เราบอกไว้ในตอนแรกว่าตัวเลขตัวแรกคือเจเนอเรชั่นของมัน ขณะที่เลขอื่นๆ นั้นก็เป็นตัวเลขบอกรุ่นของโปรเซสเซอร์ไป แต่หลายคนอาจสงสัยว่า ตัวหนังสือที่อยู่ปิดท้ายนั้น หมายความว่าอะไรบ้าง ในส่วนนี้เราจะอธิบายให้ฟัง

                โดยบนโปรเซสเซอร์ในตระกูล Haswell นั้นจะมากับตัวอักษรปิดท้าย (Suffix) 4 แบบที่มีความหมายแตกต่างกันไปตามด้านล่างนี้

 

รหัส

ความสามารถ

H

โปรเซสเซอร์ Haswell ที่ปิดท้ายด้วย “H” นั้นหมายความถึงความสามารถแบบ 4 แกน (Quad-Core) จะมากับกราฟิกการ์ดตัวแรงประจำซีรี่ส์อย่าง Iris Pro (5200)ซึ่งจะได้เห็นบนพีซีแบบตั้งโต๊ะ

M

ส่วนรุ่นที่ปิดท้ายด้วย “M” นั้นจะเป็นโปรเซสเซอร์ที่มีทั้งแบบ 4 แกน (Quad) และ 2 แกน (Dual) โดยไม่ได้มากับกราฟิกการ์ดแบบ Iris Pro

U

หากเห็นโปรเซสเซอร์ที่ลงท้ายด้วย “U” นั้นก็หมายความว่าเจ้าตัวที่คุณเห็น เป็นโปรเซสเซอร์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับใช้งานบนอัลตร้าบุ๊ค ที่เน้นความบางและการใช้พลังงานน้อยลงนั่นเอง แต่อย่างไรก็ดี รหัส “U” นั้นก็ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือแบบ 28 วัตต์ ที่อาจจะมากับ Iris Pro และ 15 วัตต์ที่มากับกราฟิกการ์โ Iris แบบธรรมดา

Y

เจ้ารุ่นที่ลงท้ายด้วย “Y” นี้จะเน้นการใช้พลังงานน้อยเป็นพิเศษ โดยน่าจะได้เห็นบนอุปกรณ์แบบ Convertible ที่ถอดมาใช้เป็นแท็บเล็ตได้นั่นเอง

 

 


Did you know?

Iris และ iris Pro คืออะไร?

                อย่างงว่า Iris และ Iris Pro ที่เราได้เห็นจากโปรเซสเซอร์ Haswell คืออะไร ความจริงแล้วมันก็คือชื่อว่าของกราฟิกการ์ดแบบที่ติดมากับโปรเซสเซอร์นั่นเอง (เหมือนกับที่ Ivy Bridge มี Intel HD Graphic 4000 และ 5000) หากเพียงแต่ว่าบนโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้ ทาง Intel ปะชื่อให้กับกราฟิกการ์ดของพวกเขาว่า Iris เท่านั้นเอง

 

 

แล้ว Haswell เหมาะกับใคร

                แน่นอนว่าเมื่อมีของใหม่ การนำไปเปรียบเทียบกับรุ่นเก่าอย่าง Ivy Bridge นั้นก็คงจะไม่พลาดการถูกไปเทียบความสามารถกัน ซึ่งต้องบอกอีกครั้งว่า ฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ Haswell นั้นจะมาในเชิงลึก ที่บรรดากูรูหรือวิศกรด้านไอทีอาจจะตื่นตาตื่นใจ แต่สำหรับผู้ใช้ทั่วอย่างเราๆ แล้วเข้าขั้นงงได้ไม่ยาก ดังนั้นแล้วเราคงจะมาเปรียบเทียบเรื่องง่ายๆ และสรุปกันแบบเข้าใจไม่ยากน่าจะดีกว่า

                สิ่งแรกที่ Haswell ทำได้ดีอย่างชัดเจน และเป็นเหตุผลที่หลายคนอาจจะตัดสินใจเลือกไม่ยากก็คือเรื่องของพลังงานและการประมวลผล ที่ถึงแม้ว่า Haswell นั้นจะเพิ่มความสามารถมาแบบขั้นบันไดไม่ใช่ก้าวกระโดด แต่การทำงานที่รวดเร็วขึ้นนั้นก็น่าสนใจไม่น้อย ด้วยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ Haswell นั้นสามารถทำงานได้ดีขึ้น แม้ว่าจะถูกตั้งค่า Clock Speed ที่ต่ำลงกว่าเดิม ตัวอย่างง่ายๆ เช่น MacBook Air ประจำปี 2012 นั้นมากับโปรเซสเซอร์ระดับ Core-i5 ที่ความเร็ว 1.8 GHz แต่เมื่อเข้าสู่ปี 2013 เจ้า MBA ใหม่นี้ก็มากับ Haswell ที่ Core-i5 เช่นกันแต่ลดความเร็วลงที่ 1.3 GHz แต่นั่นไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพของมันลดลงแต่อย่างใด กลับรวดเร็วขึ้นด้วยซ้ำ ส่งผลให้มีข้อดีในย่อหน้าถัดไป

                ข้อดีถัดมาของ Haswell ก็คือเรื่องของพลังงาน เพราะนอกจากความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่ลดลงแต่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นแล้ว การใช้พลังงานของมันยังดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ลองเปรียบเทียบกับโน้ตบุ๊ครุนเดิมอย่าง MacBook Air ที่ในปี 2013 นั้นมันสามารถทำงานได้นานถึง 15 ชั่วโมง ขณะที่รุ่นของปี 2012 นั้นใช้งานได้เพียง 7 ชั่วโมงกว่าๆ เท่านั้น และเช่นเดียวกันกับอัลตร้าบุ๊คที่หลายรุ่นนั้นสามารถใช้งานได้จริงทะลุ 8 ชั่วโมงไปได้สบายๆ เมื่อใช้โปรเซสเซอร์ Haswell

                แต่อย่างไรก็ดี แม้ว่าหลายๆ อย่างบน Haswell นั้นอาจจะดูน่าชื่นชมและอยากได้เป็นเจ้าของ แต่ด้วยความที่มันเพิ่งเปิดตัวออกมานั้น ราคาของอุปกรณ์ยังคงอยู๋ในระดับที่สูง ดังนั้นแล้วเมื่อมองด้านราคา ตัวเลือกอย่าง Ivy Bridge ที่กลายเป็นของเก่าปีที่แล้วนั้น ก็ดูน่าสนใจขึ้น เพราะความเป็นจริงแล้ว เทคโนโลยีระหว่าง Haswell และ Ivy Bridge นั้นก็ไม่ได้หนีกันไปมากสักเท่าไหร่ แต่หากงบของคุณจำกัดแล้วล่ะก็ การกลับไปเลือกใช้ Ivy Bridge ที่ยังถือว่ามีสมรรถนะที่ดีใช้งานได้อีก 2-3 ปีสบายๆ ในราคาที่ถูกกว่านั้น ก็น่าจะเหมากับเศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ไม่น้อย ยิ่งไปกว่านั้นจากข้อมูลของต่างประเทศมีการอ้างว่า หากคุณเป็นคอ Overclock แล้วล่ะก็ เจ้า Haswell นั้นยังทำได้ไม่ดีนักอีกด้วย

 

ที่มา

www.intel.com

www.pcmag.com

www.anadtech.com

www.itpro.co.uk

www.extremetech.com

Comments Top

world vision